โลโก้เว็บไซต์ โครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 บ้านวอแก้ว มทร.ล้านนา ลำปาง | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

โครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 บ้านวอแก้ว มทร.ล้านนา ลำปาง

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 4 กรกฎาคม 2559 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 1509 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้


 

  

    

 




     วันที่ 4 กรกกฏาคม 2559  ผศ.มนูญ เมฆอรุณกมล รองอธิการบดี มทร.ล้านนา ลำปาง เกียรติเป็นประธาน เปิดโครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการ ระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการติดตามประเมินผลท่านอุดม มณีขัติย์ รศ.สุทัศน์ จุลศรีไกรวัล และรศ.ดร.อภิรักษ์ เพียรมงคล และนายเกรียงไกร ธารพรศรี รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ผศ.นวลศรี  จารุทรรศน์ ผู้รับผิดชอบโครงการ รวมถึงบุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ

     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ลำปาง   กำหนดพื้นที่ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณี บ้านวอแก้ว หมู่ที่ 3 ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง โดยมีกลุ่มต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านวอแก้วกว่า 30 ครัวเรือน ได้ดำเนินงานต่อเนื่องปีที่ 3 ในงบประมาณ พ.ศ. 2559 แผนงานปีงบประมาณ 2559 ประกอบด้วย 1.การพัฒนาระบบการผลิตเห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มการเพาะเห็ดขอนขาวและเห็ดนางนวล 2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปเห็ด จำนวนไม่น้อยกว่า 5 ชนิด ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ 3. การพัฒนาระบบการเพาะขยายพันธุ์กบ 4. การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปกบ 5.การดูแลระบบน้ำ 6.บริหารจัดการกลุ่มและวิสาหกิจชุมชน ซึ่งปัจจุบันกลุ่มได้มีการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนแล้ว กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะให้มีการจัดทำกฎระเบียบของกลุ่ม และประกาศให้สมาชิกทราบโดยทั่วกัน กิจกรรมที่จะดำเนินการหลังจากการติดตามประเมินผลได้แก่ 1.จัดทำบัญชีของกลุ่มสมาชิกศูนย์การเรียนรู้และสมาชิก 2.จัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสมาชิกศูนย์การเรียนรู้ 3.การถอดบทเรียนและการจัดการความรู้ ทั้งนี้ได้มอบเครื่องอัดก้อนเห็ดผลงานปริญญานิพนธ์ของนักศึกษา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการให้บ้านวอแก้วไว้ใช้งานอีกด้วย



เรื่อง : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส

ภาพ : นายจักรินทร์ ชื่นสมบัติ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา