โลโก้เว็บไซต์ วิสัยทัศน์ & แนวทางการบริหารและพัฒนา สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

วิสัยทัศน์ & แนวทางการบริหารและพัฒนา สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน


 

สามารถคลิกที่มุมซ้าย - ขวาของภาพ เลื่อนดูสไลด์ จำนวน 17 เฟรม 

[Original size] วิสัยทัศน์ cttc 2566-2570 by Rattanaporn Sarapee

 

 

 

วิสัยทัศน์ (Vision)

"สถาบันแห่งการขับเคลื่อนงานยุทรศาสตร์งานพัฒนา งานนวัตกรรม
และการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สร้างความยั่งยืน แก่ชุมชน สังคม ระดับประเทศ"

 

พันธกิจ (Policy)


  1. ส่งเสริม สนับสนุนการขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  2. สนับสนุน ส่งเสริม การสืบสาน รักษา ต่อยอดปรัชญาและศาสตร์พระราชา
  3. สนับสนุนการจัดศึกษาและการบริการวิชาการ ที่สร้างเครือข่ายความเข้มแข็งด้วยองค์ความรู้แก่ชุมชน สังคม
  4. ส่งเสริมการเชื่อมประสาน พัฒนาองค์ความรู้ สู่การเผยแพร่และการใช้ประโยชน์จริง
  5. บริหารจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย ด้วยความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล

 

ค่านิยมร่วม (Core Value)

มุ่งมั่นพัฒนา สร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อการพึ่งพาตัวเองอย่างยั่งยืน

 


กรอบนโยบาย

เป็นการวางกรอบแนวทางการพัฒนาสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ที่มุ่งให้เกิดพลังการขับเคลื่อนพัฒนา หน่วยงานที่สอดรับกับทิศทางการมุ่งเป้าของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพลิกโฉมการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วยการขับ เคลื่อนองค์ความรู้จากงานวิชาการสู่อนาคตที่ตอบสนองชุมชน สังคม ประเทศในทุกมิติอย่างยั่งยืน โดยมีกรอบนโยบายสำคัญที่ ใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินการ ได้แก่

  1. ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนา “มหาวิทยาลัยยั่งยืน"
  2. สืบสาน รักษา ต่อยอดศาสตร์พระราชาด้วยฐาน “งานสร้างสรรค์"
  3. ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรพัฒนางานวิชาการสร้าง “องค์ความรู้เพื่อชุมชนสังคม"
  4. ส่งเสริมการเผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้ “สู่การใช้ประโยชน์ อย่างเป็นรูปธรรม"
  5. บริหารจัดการเชิงรุกเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนการบริการวิชาการที่ “โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ทันสมัยและเป็นเลิศ"
     

 

การขับเคลื่อนนโยบายภายใต้กรอบแนวคิด PDCA

เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดอย่างเป็นรูปธรรมในด้านที่จะพลิกโฉมมหาวิทยาลัยโดยการขับเคลื่อนของหน่วยงาน จึงได้กำหนดจุดมุ่งเน้นของ นโยบาย (High-priority Policy) บนฐานของทิศทางของแผนกา ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่สำคัญ ดังนี้

  • นโยบายที่ 1 ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนา "มหาวิทยาลัยยังยืน"
  • นโยบายที่ 2 สืบสานรักษาต่อยอดศาสตร์พระราชาด้วยฐาน "งานสร้างสรรค์"
  • นโยบายที่ 3 ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรพัฒนางานวิชาการสร้าง "องค์ความรู้เพื่อชุมชนสังคม"
  • นโยบายที่ 4 ส่งเสริมการเผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้ "สู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปรรรม"
  • นโยบายที่ 5 บริหารจัดการเชิงรุกเพื่อการส่งเสริม สนับสนุนการบริการที่ "โปร่งใส มีประสิทธืภาพ ทันสมัยและเป็นเลิศ"

 

 

จุดมุ่งเน้นนโยบาย (High-priority Policy)

 

  1. สนับสนุน ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (กรอบการขับเคลื่อน SDGs) ภายใน 4 ปี
  2. ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในการสนองงานใต้ร่มพระบารมีระดับประเทศ
  3. ส่งเสริมกาพัฒนาบุคลากรให้เกิดการกระตุ้นการเรียนรู้และมีขีดความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ สร้างการมีส่วนร่วม ตลอดจนการพัฒนาแผน งานและโครงการเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพัฒนาสังคม และการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค
  4. นำร่องพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการองค์กรแบบ SANDBOX สู่หน่วยงานต้นแบบ

 

 

กรอบระยะเวลาการขับเคลื่อน


เป็นการใช้แนวคิดการขับเคลื่อนหน่วยงานแบบ Foresight ที่มุ่งให้เกิดการคาดการณ์ ฉายภาพในอนาคต สู่การเตรียมความพร้อมเพื่อการรับมือและตั้งตัวในปัจจุบัน ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบ โดยมีรายละเอียดของกรอบเวลาการขับเคลื่อน 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะเร่งด่วน : การปรับตัวของหน่วยงานที่ต้องสอดรับกับบริบทและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง
  • ระยะกลาง : การส่งเสริมพัฒนาสร้างทักษะให้กับบุคลากรทุกช่วงวัยรองรับการทํางานแบบพลวัตร
  • ระยะยาว : การส่งเสริมการพัฒนา เทคโนโลยี นวัตกรรม Mega Trend ที่สร้างสรรค์ สร้างความเปลี่ยนแปลงและยั่งยืนให้แก่มหาวิทยาลัย

 

 

กลไกการสนับสนุน

4 รูปแบบ

  1. การสนับสนุนทางการเงิน (Finance) ผ่านกลไกการให้ทุนที่ออกแบบอย่างเหมาะสมเป็นระบบ
  2. การสนับสนุนการสร้างเครือข่าย (Network) ผ่านกิจกรรมส่งเสริมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้สู่การพัฒนาต่อยอด
  3. การสนับสนุนการสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการด้วยการพัฒนากลไกข้อกฎหมายเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
  4. การสนับสนุนกลไกการปฏิรูป การขับเคลื่อนองค์กรแบบ ก้าวหน้า สร้างสรรค์และยั่งยืน

 


กรอบแนวคิดการขับเคลื่อนหน่วยงาน

 

 

ความท้าทายและแผนการดำเนินการขับเคลื่อน

  1. ปฏิรูประบบการขับเคลื่อนงานสถาบันถ่ายทอดฯ ปฏิรูประบบนิเวศการทำงานของหน่วยงาน เพื่อรองรับ “การพัฒนาระบบที่เท่าทัน”
  2. ส่งเสริม สนับสนุน การขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี นวัตกรรม ที่สร้างรายได้แก่สถาบันฯอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนยกระดับการบริหารงานสถาบันฯ สู่หน่วยงานเชิงยุทธศาสตร์เชิงรุกของมหาวิทยาลัย ที่ขับเคลื่อนภารกิจ บนฐาน “การจัดหารายได้เพื่อการพึ่งพาตัวเองอย่างยั่งยืน"
  3. เชื่อมโยงระบบการพัฒนากำลังคนและธุรกิจ ตอบสนองห่วงโซ่อุปทาน พัฒนารูปแบบการตอบสนองเป้าหมายกำลังคนด้วยการ “เชื่อมโยงข้อมูลผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล”
  4. ส่งเสริม สนับสนุน การเรียนรู้ และถ่ายทอดศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “สนองงานใต้ร่มพระบารมี ที่ชุมชน สังคมยอมรับ ในระดับประเทศ"
     

 

โครงการขับเคลื่อนสำคัญ ภายใต้ 5 นโยบายตามกรอบแนวคิด PDCA

 

นโยบายที่ 1

นโยบายที่ 1 ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนา "มหาวิทยาลัยยังยืน"

โครงการขับเคลื่อนสำคัญ

  • โครงการขับเคลื่อนพลังงานสะอาดเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 
  • โครงการพัฒนาหลักสูตร องค์ความรู้ แบบบูรณาการเพื่อการ ถ่ายทอดความรู้ SDGs สู่ชุมชน สังคม

 

นโยบายที่ 2

นโยบายที่ 2 สืบสานรักษาต่อยอดศาสตร์พระราชาด้วยฐาน "งานสร้างสรรค์"

โครงการขับเคลื่อนสำคัญ

  • โครงการขับเคลื่อนพัฒนาทักษะขั้นสูงด้านวิศวกรรมและงานช่างบุคลากรพื้นที่โครงการหลวง
  • โครงการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำา พื้นที่สนองงานใต้ร่มพระบารมี
  • โครงการส่งเสริมพัฒนา เทคโนโลยี นวัตกรรม และผลิตภัณฑ์ "กินได้ ใช้ได้ ขายได้ อยู่ได้
  • โครงการพัฒนาศูนย์ทดสอบผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ เพื่อการสนองงานใต้ร่มพระบารมี
  • โครงการบูรณาการทักษะชีวิต พิชิตความพอเพียง

 

นโยบายที่ 3
นโยบายที่ 3 ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรพัฒนางานวิชาการสร้าง "องค์ความรู้เพื่อชุมชนสังคม"

โครงการขับเคลื่อนสำคัญ

  • โครงการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสร้างอาชีพ ที่ได้รับมาตรฐาน รองรับการเปลี่ยนแปลง (Enhance Re-Skill Up-Skill New-Skill Human capital) เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 
  • โครงการบริหารจัดการองค์ความรู้มหาวิทยาลัย (Knowledge Management)
  • โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Leaming Space) และห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)

 

นโยบายที่ 4

นโยบายที่ 4 ส่งเสริมการเผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้ "สู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปรรรม"

โครงการขับเคลื่อนสำคัญ

  • โครงการนำผลงานวิจัย นวัตกรรม สู่การใช้ประโยชน์ (RU : Research to Utilization)
  • โครงการพัฒนาผู้ประกอบการและจับคู่ธุรกิจแบบมุ่งเป้า (Business Matching)

 

นโยบายที่ 5

นโยบายที่ 5 บริหารจัดการเชิงรุกเพื่อการส่งเสริม สนับสนุนการบริการที่ "โปร่งใส มีประสิทธืภาพ ทันสมัยและเป็นเลิศ"

โครงการขับเคลื่อนสำคัญ

  • โครงการปรับปรุงโครงสร้างและกฎระเบียบเพื่อการขับเคลื่อน พัฒนางานสถาบันฯ เชิงรุก
  • โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการ
     

 

ผังความสอดคล้องของนโยบายการขับเคลื่อนสถาบันกับสถานการณ์ปัจจุบัน

 

 

เป้าหมายความสำเร็จ 4 ปี++ 5 นโยบาย (งาน งบประมาณ บุคลากร)

 

 

แนวคิดผังระบบนิเวศความเชื่อมโยงการดำเนินงาน

 

 

 

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา