โลโก้เว็บไซต์ การผลิตเครื่องกดแอลกอฮอล์เจลแบบใช้เท้าเหยียบ | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

การผลิตเครื่องกดแอลกอฮอล์เจลแบบใช้เท้าเหยียบ

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 24 มิถุนายน 2563 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 9304 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด - 19 ซึ่งมีการแพร่ ระบาดไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง ตลอดจนการดำรงชีวิตของประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งองค์การอนามัยโลกต้องประกาศให้การระบาด ของโรคโควิด - 19 เป็นการระบาดใหญ่ และกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคโควิด - 19 เป็นโรคติดต่อ อันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งปัจจุบันได้มีมาตรการผ่อนปรนให้เป็นมาตรฐานกลางของแต่ละกิจการและกิจกรรม โดยคำนึงถึงปัจจัยทางด้านสาธารณสุขเป็นหลัก และนำปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้าน เศรษฐกิจ มาใช้ประกอบการพิจารณา สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้นำองค์ความรู้เทคโนโลยีที่มีในมหาวิทยาลัย มาประยุกต์ ในการผลิตอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์โดยใช้หลักการจิตอาสา ได้แบ่งกิจการและกิจกรรมออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ เครื่องกดแอลกอฮอล์เจลแบบใช้เท้าเหยียบ  หน้ากากใส ป้องกันละอองเชื้อโรค (Face Shield)  หน้ากากอนามัย Nano Technology และการผลิตอ่างล้างมือแบบใช้เท้าเหยียบเปิดปิดน้ำ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นการการดำรงค์มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 อย่างต่อเนื่อง และเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 สอดคล้องกับนววิถีใหม่ (New Normal) ถึงแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 จะสิ้นสุดหรือยุติไปแล้วก็ตาม

       การผลิตเครื่องกดแอลกอฮอล์เจลแบบใช้เท้าเหยียบ วันที่ 22 – 27 มิถุนายน 2563 ได้ออกแบบและผลิตต้นแบบโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์เกรียงไกร ธารพรศรี ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ซึ่งเคยได้ผลิตให้สำนักงานทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ของมหาวิทยาลัยฯ จำหน่ายในราคาชุดละ 500 บาท  เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยฯ และประชาชนทั่วไป จึงได้จัดทำกิจกรรมครั้งนี้ขึ้น ซึ่งสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนจะการผลิตเครื่องกดแอลกอฮอล์เจลแบบใช้เท้าเหยียบเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไป โดยมีจิตอาสาเข้าร่วมดำเนินกิจกรรม จำนวน 10 คน และกำหนดให้ได้การผลิตเครื่องกดแอลกอฮอล์เจลแบบใช้เท้าเหยียบ 150 ชุด สำหรับแจกจ่ายให้อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ใช้งานได้จริงภายในมหาวิทยาลัย ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำโครงการ เป็นการสร้างองค์ความรู้ เพิ่มทักษะ สร้างอาชีพให้ประชาชน บุคลากร และนักศึกษาที่สนใจได้มีอาชีพเสริมแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด - 19

ข่าว : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส

ภาพ  : นางสาวรัตนาภรณ์ สารภี







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon