เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 12 ตุลาคม 2564 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 704 คน
วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2564 สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ร่วมบันทึกภาพและถ่ายทอดสด พิธีปิดงาน “โครงการอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการออกแบบสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมือง สำหรับตลาดในยุค New Normal Creative Design Competency Enhancement of Local Craft Entrepreneurs for New Normal Market Workshop” (Koyori Project 2021) ผลิตภัณฑ์ 8 จังหวัดภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่
ภายในงานมีการประกาศผล 10 ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปจัดแสดงในงาน Design Week ที่กรุงเทพมหานคร จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ CEA และการจัดแสดงสินค้าจากกลุ่มชุมชนโอทอปล้านนาซึ่งเป็นผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของนักออกแบบและครูช่างต้นแบบที่ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้มีความน่าสนใจ
Koyori Project 2021 เป็นโครงการที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นผู้รับผิดชอบ จัดขึ้นภายใต้โครงการการยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในภาคเหนือตอนบนด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์และทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่มูลค่าของผลิตภัณฑ์ มีระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 - เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2564 และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ ในการส่งนักศึกษาเข้าร่วมในโครงการ โดยสมาคมวัฒนหัตถศิลป์ล้านนา ลงพื้นที่การอบรมเพิ่มทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยดึงเอาจุดเด่นของวัฒนธรรมในแต่ละผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผสมผสานกับแนวคิด การออกแบบแฟชั่นดีไซน์ที่เป็นระบบจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบจากไทยและต่างชาติ นักออกแบบไทย นักศึกษาในภาควิชาที่เกี่ยวข้อง โดยเทคนิคต่าง ๆ ที่นำมาใช้มีความร่วมสมัยและแสดงออกถึงทักษะอันโดดเด่นของครูช่างไปในเวลาเดียวกัน ซึ่งใน ปี พ.ศ.2564 นี้ มีกลุ่มชุมชนโอทอปล้านนา 8 จังหวัดภาคเหนือ เข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 กลุ่ม มีนักออกแบบจากสถาบันการศึกษาต่างๆ จำนวน 30 คน รวมทั้งมีอาจารย์ที่ปรึกษาจากต่างประเทศและในประเทศไทย
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ URL [https://fb.watch/8B3n0rLYDf/]
ภาพ พิษณุ พรมพราย, จักร์รินทร์ ชื่นสมบัติ
เรียบรียง รัตนาภรณ์ สารภี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ดร.เอนก ยกศิลปะล้านนาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ย้ำ คนยุคใหม่ต้องเข้าใจรากเหง้าศิลปะท้องถิ่นผสานเข้ากับงานศิลปะร่วมสมัยผลักดันสู่การเป็นอารยะด้านวัฒนธรรม
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา