โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา หารือแนวทางดำเนินโครงการอินทนนท์โมเดล ครั้งที่ 2/2565 | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

มทร.ล้านนา หารือแนวทางดำเนินโครงการอินทนนท์โมเดล ครั้งที่ 2/2565

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 30 มีนาคม 2565 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 672 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกรียงไกร ธารพรศรี ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน พร้อมคณะทำงาน เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมประชุมหารือแนวทางดำเนินโครงการอินทนนท์โมเดล ครั้งที่ 2/2565 กับ คณะกรรมการโครงการพื้นที่ต้นแบบดอยอินทนนท์ (อินทนนท์โมเดล) โดยในการประชุมครั้งนี้ พลเอกธนยศ พริ้งทองฟู ที่ปรึกษามูลนิธิวิจัยและพัฒนาเพื่อคุณภาพชีวิต และคณะทำงาน นำเสนอ “โครงการต้นแบบ พัฒนาดินป่าและคุณภาพชีวิตราษฎรเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ นำร่องที่บ้านไร่ดง หมู่ 20 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฟื้นฟูลุ่มน้ำกว่าว บริเวณหย่อมบ้านไร่ดง หมู่ 2 บ้านน้ำตกแม่กลาง ในโครงการพื้นที่ต้นแบบดอยอินทนนท์ (อินทนนท์โมเดล) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ราษฎรเกษตรกรและเจ้าหน้าที่หน่วยงานองค์กรภาคส่วนต่างๆ ได้รับประสบการณ์การ พัฒนาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ ครอบคลุมทั้งด้านการฟื้นฟูรักษาทรัพยากรดินป่าน้ำ การใช้ประโยชน์ที่ดินทำ เกษตรทางเลือก สร้างรายได้ตามวิถีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้แก่ราษฎร เกษตรกร และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองและเอื้ออาทรต่อกัน เพื่อเสริมสร้างระบบป่าเปียกและแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตรให้แก่ชุมชนและสำนักสงฆ์ โดยใช้ประโยชน์จากฝายต้นน้ำลำธารตามแนวพระราชดำริและเทคโนโลยีน้ำยางสดผสม รวมถึงเพื่อส่งเสริมการทำเกษตรปลอดสารพิษด้วยสารชีวภาพปุ๋ยธรรมชาติที่แสวงหาใต้ในพื้นที่ ลดต้นทุน การผลิตภาคการเกษตรและลดเลิกการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย และเพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ต้นแบบขับเคลื่อนขยายผลการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการด้วยหลักการ Thing Macro & Act Micro (เริ่มจากจุดเล็กๆ) ณ ห้องประชุมกาสะลอง ชั้น 2 สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ดอยสะเก็ด)

 

ข้อมูล เกรียงไกร ศรีประเสริฐ
ภาพ/เรียบเรียง รัตนาภรณ์ สารภี







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon