โลโก้เว็บไซต์ สถช. ลงพื้นที่สำรวจ วินิจฉัยปัญหาเครื่องล้างผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีฟองขนาดจิ๋ว (Ultra fine buuble) และระบบไฟฟ้าให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

สถช. ลงพื้นที่สำรวจ วินิจฉัยปัญหาเครื่องล้างผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีฟองขนาดจิ๋ว (Ultra fine buuble) และระบบไฟฟ้าให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 29 เมษายน 2565 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 460 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

นที่ 29-30 เมษายน พ.ศ.2565 อาจารย์วิสุทธิ์ บัวเจริญ หัวหน้าศูนย์ซ่อมบำรุงวินิจฉัยปัญหาเครื่องจักร/เครื่องมือ เพื่อสนับสนุนศูนย์/สถานีโครงการหลวง พร้อมด้วยบุคลากรสังกัดสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ผู้รับผิดชอบงานสนับสนุนศูนย์/สถานีโครงการหลวง ลงพื้นที่สำรวจ วินิจฉัยปัญหาเครื่องล้างผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีฟองขนาดจิ๋ว (Ultra fine buuble) และระบบไฟฟ้าให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง ดำเนินงานภายใต้โครงการสนับสนุนกิจกรรมมูลนิธิโครงการหลวงและโรงงานแปรรูป ประจำปีงบประมาณ 2565 ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

ทั้งนี้ ผลจากลงพื้นที่สำรวจวินิจฉัยปัญหาเครื่องล้างผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีฟองขนาดจิ๋ว (Ultra fine buuble) และระบบไฟฟ้าให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง ครั้งนี้ พบประเด็นปัญหา 2 เรื่อง คือ 

  1. ประเด็นปัญหา : ผักเกิดการช้ำเนื่องจากการล้าง

    ผลการวินิจฉัย เกิดจากการปนเปื้อนผักจากแปลงแล้วนำเข้าเครื่องล้างทันทีทำให้สิ่งปนเปื้อนเข้าไปอุดตันในหัวพ่นฟองอากาศ

    แนวทางการดำเนินงาน
    1. ถอดหัวพ่นฟองออกมาทำความสะอาด
    2. ให้ทำการล้างน้ำแรกโดยไม่เปิดหัวพ่นฟองแล้วเดรนน้ำทิ้ง แล้วเปิดน้ำล้างครั้งที่สองพร้อมเปิดหัวพ่นฟองอากาศ
     
  2. ประเด็นวินิจฉัย: น้ำที่ใช้ในการล้างมีตะกอนแขวนลอยมาก

    ผลการวินิจฉัย น้ำต้นทุนที่ใช้ในการล้างมาจากประปาภูเขา ไม่มีระบบกรองที่ดีทำให้มีตะกอนแขวนลอยมาก

    แนวทางการดำเนินงาน
    เพิ่มระบบกรองให้กับน้ำต้นทุน

ทั้งนี้ หลังจากทีมงานดำเนินการแก้ไขให้แล้ว ผู้ปฏิบัติงานสามารถกลับมาใช้งานเครื่องล้างผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างราบรื่น

 

ในโอกาสนี้ ทางคณะทำงานได้เข้าเยี่ยมชมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง เพื่อนำแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ฯ ไปประยุกต์ใช้กับศูนย์เรียนรู้โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในพื้นที่แปลงสาธิตการเกษตรผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การกำกับของสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ดอยสะเก็ด)
 

ข้อมูล กลุ่มงานโครงการพิเศษ
ภาพ วิสุทธิ์ บัวเจริญ, กลุ่มงานโครงการพิเศษ
เรียบเรียง รัตนาภรณ์ สารภี







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon