โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา รายงานผลการดำเนินงานปิดโครงการ Reinventing ประจำปีงบประมาณ 2566 แก่ สป.อว. | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

มทร.ล้านนา รายงานผลการดำเนินงานปิดโครงการ Reinventing ประจำปีงบประมาณ 2566 แก่ สป.อว.

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 21 ตุลาคม 2567 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 326 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันจันทร์ที่  21 ตุลาคม 2567 มทร.ล้านนา นำโดย รองศาสตราจารย์อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทนอธิการบดี , ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนนท์ นำอิน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ อยู่สวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพพร พัชรประกิติ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา, นางขวัญเรือน มีมานัส ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์, นางสาวอารีวัณย์ อรุณสิทธิ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สำนักงานบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU พร้อมคณะ ได้ร่วมประชุมรายงานผลการดำเนินงานและส่งมอบผลการดำเนินงานโครงการ Reinventing ประจำปี 2566 รอบปิดโครงการ แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting

ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ อยู่สวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เป็นตัวแทนในการรายงานผลการดำเนินงานโครงการปฏิรูประบบและกลไกการนำผลงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างทรัพย์สินทางปัญญาและสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ ภายใต้โปรแกรม 25 แผนงานย่อยพัฒนาระบบและกลไกสร้างความเข้มแข็งของระบบนิเวศ ววน. แผนงานย่อยรายประเด็น “แผนงานพัฒนาระบบ ววน.ในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพลิกโฉมมหาวิทยาลัย” โครงการ Reinventing ประจำปี 2566 ภาพรวมของมหาวิทยาลัย ที่มีวัตถุประสงค์โครงการหลักเพื่อการส่งเสริมและเน้นในเรื่องการพัฒนาบุคลากรของมทร.ล้านนา ให้มีความเข้าใจในกระบวนการบริหารทรัพย์สินทางปัญญาและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชน์ รวมถึงการพัฒนาผลงานวิจัยให้สามารถเพิ่มศักยภาพ และเพิ่มจำนวนของการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น อีกทั้งการดำเนินงานโครงการได้มีการปฏิรูป ปรับปรุง พัฒนาระบบ กลไก ฐานข้อมูล และกฎระเบียบในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของมทร.ล้านนา ให้มีประสิทธิภาพและต่อยอดงานวิจัยเข้าสู่กระบวนการทรัพย์สินทางปัญยาเพื่อการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้จริง ภายใต้ 8 กิจกรรม ได้แก่

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาระบบและกลไกเพื่อการปฏิรูปมหาวิทยาลัย

กิจกรรมที่ 2 เสริมสร้างศักยภาพอาจารย์ นักวิจัย โดยใช้เครื่องมือการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา

กิจกรรมที่ 3 เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในหน่วยงานบริหารงานวิจัย

กิจกรรมที่ 4 สรรหา คัดเลือกและพัฒนาบุคลากรในงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา

กิจกรรมที่ 5 ฝึกปฏิบัติการเตรียมคำขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

กิจกรรมที่ 6 การจัดทำฐานข้อมูลผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และทรัพย์สินทางปัญญา

กิจกรรมที่ 7 ส่งเสริมผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

กิจกรรมที่ 8 ปรับปรุงอาคารสร้างพื้นที่ทำงานอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ภายใต้โครงการดังกล่าวประสบผลสำเร็จในการดำเนินงาน ซึ่งการดำเนินกิจกรรมทั้ง 8 กิจกรรมดังกล่าวได้พัฒนา ส่งเสริมและทำให้มหาวิทยาลัยได้ยกระดับผลงานทางทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มขึ้น ทำให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในงานด้านทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น รวมถึงมีระบบฐานข้อมูลที่เป็นการรวบรวมข้อมูลผลงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยที่สามารถนำมาใช้ในการวางแผนและบริหารงานวิจัยและใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ สะดวก มีประสิทธิภาพ และสามารถติดตามการดำเนินงานตามสถานะ เป็นประโยชน์แก่อาจารย์ นักวิจัย ของมหาวิทยาลัยผ่านเว็บไซต์  https://e-ip.rmutl.ac.th/  อีกทั้งยังมีการยกระดับมีการปรับปรุงอาคารขึ้นเพื่อรองรับการให้บริการด้านนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยและเป็นศูนย์กลางในการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆในระดับเขตพื้นที่ ภายใต้อาคารสถาบันจัดการงานสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยี อีกด้วย 

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon