โลโก้เว็บไซต์ ประกาศรับสมัครบุคลากร มทร.ล้านนา เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ  | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

ประกาศรับสมัครบุคลากร มทร.ล้านนา เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 25 มิถุนายน 2562 โดย นายนริศ กำแพงแก้ว จำนวนผู้เข้าชม 5947 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

กองบรรณาธิการ “วารสารวิชาการรับใช้สังคมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา” เปิดรับสมัครบุคลากร มทร.ล้านนา เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ "การส่งเสริมพัฒนาทักษะการเขียนบทความวิชาการรับใช้สังคม" ประจำปีการศึกษา 2562  ในวันศุกร์ ที่ 19 กรกฏาคม 2562 ณ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มทร.ล้านนา ดอยสะเก็ด

โดยผู้เข้ารับการประชุมฯ จะได้รับฟังการบรรยายความรู้และฝึกปฏิบัติ โดยวิทยากรที่มีชื่อเสียง อาทิ
1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อารี  วิบูลย์พงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศ ด้านงานวิชาการรับใช้สังคม
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิภา ยงประยูร ผู้ช่วยศาสตราจารย์สายรับใช้สังคมคนแรกของประเทศไทย
3. รองศาสตราจารย์ ดร.พานิช อินต๊ะ นักวิจัยรางวัลพระราชทาน "นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ 2559"
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สันติ ช่างเจรจา นักวิชาการประสบการณ์ด้านรับใช้สังคม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธนา เขาสุเมรุ บรรณาธิการผู้ทรงคุณวุฒิประจำวารสารฯ


ทั้งนี้ผู้สนใจ สามารถเข้าไปลงทะเบียนสมัคร  หรือเข้าดูรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติม ได้ที่เว็บไซต์ : https://kaewpanya.rmutl.ac.th/cttc/jses/info.php?type=meeting ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถึง วันจันทร์ ที่ 1 กรกฏาคม 2562 (ด่วน!! รับจำนวนจำกัด ฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย)

หมายเหตุ : คณะดำเนินงานจะประกาศผลรายชื่อบุคลากรผู้ผ่านการคัดเลือก ในวันที่ 2 กรกฏาคม 2552 ผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าวข้างต้น

การอบรมเชิงปฏิบัติการ  "การส่งเสริมพัฒนาทักษะการเขียนบทความวิชาการรับใช้สังคม" เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ ผลิตและพัฒนางานวารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีวัตถุประสงค์ คือ
     1.เพื่อสร้างความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการประพันธ์บทความวิชาการด้านรับใช้สังคมที่มีคุณภาพ ให้แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัย
     2.เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้านบริการวิชาการ
     3.สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันในหมู่นักวิชาการที่ทำงานวิชาการรับใช้สังคม
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยและนักบริการวิชาการ ในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการต่อไป






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา