โลโก้เว็บไซต์ โครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 บ้านคลองตาล มทร.ล้านนา พิษณุโลก | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

โครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 บ้านคลองตาล มทร.ล้านนา พิษณุโลก

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 6 กรกฎาคม 2559 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 1402 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้




    วันที่ 6 กรกกฏาคม 2559  ผศ.พรรณี นุกูลคาม ผอ.กองบริหารทรัพยากร มทร.ล้านนา พิษณุโลก เข้าร่วมโครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ได้รับเกียรติผู้ทรงคุณวุฒิจากท่านอุดม มณีขัติย์ รศ.สุทัศน์ จุลศรีไกรวัล และรศ.ดร.อภิรักษ์ เพียรมงคล และนายเกรียงไกร ธารพรศรี รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน รวมถึงบุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยมี นางสาวรัชนีกร แรงขิง ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ

     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก กำหนดพื้นที่ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม บ้านคลองตาล ต.หนองแขม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ได้ดำเนินงานต่อเนื่องปีที่ 3 ในงบประมาณ พ.ศ. 2559 กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว ประกอบด้วย

1.การตรวจสอบคุณภาพผลผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษ

2. กระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวปลอดภัย

3. การบำรุงรักษาโรงสีข้าว และการจัดการไฟฟ้าในโรงสีข้าว

4. กระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าว

5. การสร้างวิทยากรกลุ่ม ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่บุคคลภายนอก

6. การเลี้ยงไก่พื้นเมือง มีสมาชิกกลุ่ม 13 คน รายได้เฉลี่ยคนละ 3,500 บาทต่อเดือน

7. การเลี้ยงสุกร มีความรู้เรื่อง การเลี้ยงสุกร การป้องกันโรค คัดเลือกพันธุ์ ผลิตอาหาร

8. การปลูกพืชแบบผสมผสาน มีความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมที่จะดำเนินการหลังจากการติดตามประเมินผลได้แก่

1. มาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

2. การบริหารจัดการทางการตลาดข้าวปลอดภัย และการตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าว

3. พัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองตาลเพื่อผลิตข้าวปลอดภัย ปัจจุบันมีผู้ผลิตข้าวปลอดภัย 22 ครัวเรือน สมาชิกกลุ่มข้าวปลอดภัย 103 คน จากสมาชิกในหมู่บ้าน 120 ครัวเรือน

4. การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การผลิตข้าวปลอดภัยและเมล็ดพันธุ์ข้าว ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี สร้างโรงเรือนและยุ้งฉางเก็บเกี่ยวข้าว 500,000 บาท สร้างภายในเดือนกันยายน 2559

 

เรื่อง : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส

ภาพ : นายจักรรินทร์ ชื่นสมบัติ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon