โลโก้เว็บไซต์ ห้อม ชนเผ่าลาหู่ซี สู่อาชีพที่ยั่งยืน | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

ห้อม ชนเผ่าลาหู่ซี สู่อาชีพที่ยั่งยืน

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 5 กรกฎาคม 2564 โดย สิริญญา ณ นคร จำนวนผู้เข้าชม 1430 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

ผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย อาจารย์ประจำหลักสูตรสิ่งทอและเครื่องประดับ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพร้าว สำนักงานอุทยานแห่งชาติศรีลานนา จัดโครงการขยายพันธุ์และใช้ประโยชน์จากห้อมของชนเผ่าลาหู่ซี บ้านขอนม่วง ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)

ผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย กล่าวว่า การจัดการโครงการขยายพันธุ์และใช้ประโยชน์จากห้อมชนเผ่าลาหู่ซี ดังกล่าว เป็นถ่ายทอดองค์ความรู้การทำห้อม ตั้งแต่กระบวนการปลูกห้อม การเก็บเกี่ยว การหมักและการย้อมห้อม เริ่มปลูกต้นห้อมแปลงแรกในปี 2563 และในปัจจุบันสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต ขยายผลนำสู่การปลูกแปลงที่ 2 ในปี 2564 นอกจากนั้นแล้วยังมีชาวบ้านในชุมชนนำองค์ความรู้ไปเพาะปลูก และนำผลผลิตที่ได้ขายให้กับโครงการ อันเป็นการสร้างรายได้สู่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง ซึ่งในโครงการดังกล่าวฯ แบ่งกรอบการทำงานย่อย ได้แก่

อุทยานแห่งชาติศรีลานนา รับผิดชอบเรื่องกรอบการเรียนรู้ทรัพยากร ร่วมกับ มทร.ล้านนา จัดโครงการขยายพันธุ์และใช้ประโยชน์จากต้นห้อมของชนเผ่าลาหู่ซี บ้านขอนม่วง ตำบลป่าไหน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามราชกุมารี

กศน.อำเภอพร้าว ซึ่งเป็นหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่ โดยมีศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.) บ้านขอนม่วง ตำบลป่าไหน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ รับผิดชอบเรื่องกรอบสร้างจิตสำนึก จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนควบคู่ไปกับโครงการขยายพันธุ์และใช้ประโยชน์จากต้นห้อมฯ ในการสร้างศูนย์เรียนรู้และการอนุรักษ์ต้นห้อม เพื่อให้เยาวชนบนพื้นที่สูงได้รู้จักประโยชน์และการใช้ประโยชน์จากต้นห้อม เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการย้อมและสมุนไพร สร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ให้อยู่คู่กับชุมชนต่อไป







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon