โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ร่วมกับ เทศบาลตำบลป่าป้อง จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือรวมทั้งภูมิปัญญาด้านอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์พื้นถิ่น | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

มทร.ล้านนา ร่วมกับ เทศบาลตำบลป่าป้อง จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือรวมทั้งภูมิปัญญาด้านอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์พื้นถิ่น

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 29 ตุลาคม 2564 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 1506 คน

(1) ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

 
วันที่ 28-29 ตุลาคม พ.ศ. 2564 คณะทำงานผู้จ้าง U2T มทร.ล้านนา โดยมี นายพิษณุ พรมพราย บุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน เป็นหัวหน้าโครงการ ร่วมกับ เทศบาลตำบลป่าป้อง จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือรวมทั้งภูมิปัญญาด้านอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์พื้นถิ่น (โคมล้านนาเบื้องต้น) ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะฝีมือด้านอาชีพในท้องถิ่น รักษาภูมิปัญญาด้านอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์พื้นถิ่นให้ยังคงอยู่ และเป็นอีกทางเลือกในการสร้างรายได้จุนเจือครอบครัว ช่วยแก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ซึ่งมีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคง ตลอดจนการดำรงชีวิตของประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยมี นายจักพันธ์ ชัยแปง ซึ่งได้รับการสรรหาและยกย่องเป็น ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 6 ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม การทำโคม ตุง และเครื่องสักการะล้านนา จากโครงการสรรหาและยกย่องครูภูมิปัญญาไทย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และทีมงาน เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ประชาชนผู้สนใจในชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ให้สามารถต่อยอดโคมล้านนาในการพัฒนาโคมล้านนารูปแบบที่หลากหลาย มีลวดลายสวยงามมากยิ่งขึ้น และได้รับเกียรติจาก นายสมบูรณ์ ริญญา นายกเทศมนตรีตำบลป่าป้อง เป็นประธานเปิดกิจกรรม ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ณ เทศบาลตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

 

ข่าว จักร์รินทร์ ชื่นสมบัติ
ภาพ จักร์รินทร์ ชื่นสมบัติ อาจารย์วิสุทธิ์ บัวเจริญ
เรียบเรียง รัตนาภรณ์ สารภี







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon