โลโก้เว็บไซต์ สถช. ร่วมรับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

สถช. ร่วมรับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 11 มกราคม 2565 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 299 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

 

วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกรียงไกร ธารพรศรี ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน และนายนริศ กำแพงแก้ว หัวหน้ากลุ่มงานบริหารการถ่ายทอดเทคโนโลยี เข้าร่วมรับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมกับคณะผู้บริหารและคณะทำงานของมหาวิทยาลัย ภายใต้การมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาโรงผลิตไฟฟ้าระบบพลังงานผสมระหว่างพลังงานแสดงอาทิตย์และพลังงานน้ำ เพื่อชุมชน ณ ศูนย์การเรียนรู้ชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง บ้านเลอะกรา ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 

 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้รับโอกาสให้ดำเนินการสนองงานพระราชดำริ ด้านระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานในพื้นที่พระราชดำริ ซึ่งระบบการผลิตไฟฟ้าแบบผสมระหว่างพลังงานจากน้ำ และพลังงานจากแสงอาทิตย์ เป็นผลงานการต่อยอดจากงานวิจัยของอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิศวกรรมเครื่องกล และสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณด้านการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงระบบทางวิศวกรรมเพื่อสนับสนุนกิจกรรมโครงการพระราชดำริฯ ที่สามารถนำมาใช้งานได้จริงและตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาด้านการศึกษาให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง รวมถึงการลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ ควบคู่กับการสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

   

สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับหลักการทำงานของระบบไฟฟ้าแบบผสมพลังงานจากน้ำ และพลังงานจากแสงอาทิตย์ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์ศรีธร อุปคำ อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โทร.053-921444

 

ข้อมูล กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป สถช. 
ภาพ วิทยา กวีวิทยาภรณ์, นริศ กำแพงแก้ว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา