โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ลงพื้นที่เยี่ยมชม/ติดตามงานโรงเรียนในโครงการ MOVE พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

มทร.ล้านนา ลงพื้นที่เยี่ยมชม/ติดตามงานโรงเรียนในโครงการ MOVE พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 9 มิถุนายน 2565 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 1007 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

อาจารย์รัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา อาจารย์สังกัดสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร และ นายวรรธพงศ์ เทียนนิมิตร เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เพื่อสนับสนุนงานโครงการพระราชดำริ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภายใต้การดำเนินงานโครงการสืบสานต่อยอดและติดตามเพื่อขับเคลื่อนงานโครงการตามพระราชดำริสำหรับคนทุกช่วงวัย ลงพื้นที่เยี่ยมชม/ติดตามงานโรงเรียนในโครงการ MOVE พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกับ คณะทำงานจากศูนย์ความร่วมมือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อมูลนิธิโครงการหลวงและกิจกรรมวิชาการ พร้อมด้วยคณะทำงานทางวิชาการจากหน่วยงานอื่นๆ อาทิ สภากาชาดไทย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมีดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เป็นหัวหน้าคณะฯ เดินทาง ในระหว่างวันที่ 5-9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ณ โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้แก่ รร.บ้านหมอกจำแป่ - ศกร.ตชด.บ้านแม่ลางิ้ว - ศกร.ตชด.บ้านแม่เหลอ - รร.บ้านแม่หลุย - รร.บ้านร่องแพ และ รร.บ้านเลโคะ เพื่อสำรวจข้อมูลและติดตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาการพูด อ่าน เขียนภาษาไทย (Mobility of Volunteer educations : MOVE) 

โครงการอ่านพูดเขียนไทย MOVE โรงเรียนในโครงการพระราชดำริความร่วมมือระหว่างสภากาชาดไทย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กสศ. และสถาบันอุดมศึกษาฯ เป็นการแก้ไขปัญหานักเรียนด้านการอ่าน การพูด และการเขียนภาษาไทยโดยเฉพาะในถิ่นทุรกันดาร ด้วยปฏิบัติการจริงในพื้นที่ ด้วยกลไกของ “ครูอาสาสมัคร” เพื่อให้ได้รูปแบบและวิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอ่าน พูด และเขียนไทย ของนักเรียนในถิ่นทุรกันดารที่สามารถนำไปขยายผลหรือปรับใช้กับพื้นที่อื่นๆ ได้

 

ข้อมูล/ภาพ กลุ่มงานบริหารการถ่ายทอดเทคโนโลยี 
ภาพ คณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ 
เรียบเรียง รัตนาภรณ์ สารภี







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon