โลโก้เว็บไซต์ สถช.ลงพื้นที่สำรวจ วินิจฉัยปัญหาเครื่องกระเทาะเปลือกเม็ดกาแฟ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

สถช.ลงพื้นที่สำรวจ วินิจฉัยปัญหาเครื่องกระเทาะเปลือกเม็ดกาแฟ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 20 มิถุนายน 2565 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 429 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

วันที่ 16-17 มิถุนายน 2565 อาจารย์วิสุทธิ์ บัวเจริญ หัวหน้าศูนย์ซ่อมบำรุงวินิจฉัยปัญหาเครื่องจักร/เครื่องมือ เพื่อสนับสนุนศูนย์/สถานีโครงการหลวง พร้อมด้วย นายคเชนท์ เครือสาร หัวหน้ากลุ่มงานโครงการพิเศษ และ บุคลากรสังกัดสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ผู้รับผิดชอบงานโครงการจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง/วินิจฉัยปัญหาเครื่องจักร เครื่องมือเพื่อสนับสนุนสถานีวิจัย/ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ดำเนินงานภายใต้โครงการสนับสนุนกิจกรรมมูลนิธิโครงการหลวงและโรงงานแปรรูป ประจำปีงบประมาณ 2565 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลงพื้นที่และร่วมประชุมหารือกับหัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง และเจ้าหน้าที่ดูแลเครื่องกะเทาะเมล็ดกาแฟ เพื่อสรุปแผนการดำเนินงานสำรวจ วินิจฉัยปัญหาเครื่องกระเทาะเปลือกเม็ดกาแฟ พร้อมการลงพื้นที่สำรวจ วินิจฉัยปัญหาเครื่องกะเทาะเมล็ดกาแฟ และระบบไฟฟ้า ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง ตำบลป่าเมี่อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 

 

ทั้งนี้ ผลจากการลงพื้นที่สำรวจวินิจฉัยปัญหาเครื่องกระเทาะเปลือกเม็ดกาแฟ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยง ครั้งนี้ พบประเด็นปัญหา 5 เรื่อง ดังนี้

  1. แผ่นยางสำหรับกดเมล็ดกาแฟเข้ากับลูกกลิ้งกระเพาะ ขาดคุณสมบัติยืดหยุ่นเนื่องจากหมดอายุการใช้งาน ทำให้เมล็ดถูกกดและดีดออกทางด้านปล่องปล่อยกากเปลือกเมล็ดกาแฟจึง ทำให้เสียเวลานำมากระเทาะต่ออีกครั้ง
  2. มีการปรับระยะของยางประคองเมล็ดกาแฟอยู่บ่อยครั้งเนื่องจากขนาดเมล็ดกาแฟมีไม่เท่ากัน ทำให้ระยะกดของยางเปลี่ยนอยู่ตลอดทุกครั้งที่มีการใช้งาน
  3. ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ด้านการบำรุงรักษาและกล้าถอดประกอบเครื่องด้วยเกรงจะเสียหาย
  4. ไม่มีระบบการจัดการการใช้เครื่องและการบำรุงรักษาเครื่องที่เป็นส่วนกลาง จึงทำให้ผู้ปลูกกาแฟมีเครื่องเป็นของตนเองและบำรุงรักษาเครื่องของตนเอง
  5. ลูกกลิ้งกระเทาะเปลือกกาแฟสึกหรอ เนื่องจากมีวัสดุที่เป็นโลหะติดมากับเมล็ดกาแฟ เช่น ตะปู หรือหัวน๊อตซึ่งต้องหาสาเหตุของวัสดุแปลกปลอมว่าติดเข้ามาในระบบการผลิตในขั้นตอนไหน

ข้อมูล/ภาพ กลุ่มงานโครงการพิเศษ
เรียบเรียง รัตนาภรณ์ สารภี







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา