โลโก้เว็บไซต์ การใช้เชื้อ บิวเวอร์เรีย เพื่อการควบคุมศัตรูพืช | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

การใช้เชื้อ บิวเวอร์เรีย เพื่อการควบคุมศัตรูพืช

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 18 กรกฎาคม 2565 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 16292 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

ไฟล์สื่อวีดิทัศน์ คลิกที่นี่

ความยาว 4:17 นาที
[[ คลิกเปิดไฟล์สื่อวีดิทัศน์ ]]

 

 

การใช้เชื้อ บิวเวอร์เรีย เพื่อการควบคุมศัตรูพืช
ความยาว: 4.17 นาที
ข้อมูล : สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
เรียบเรียงเนื่อหา/จัดทำสื่อ : งานบริหารการถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ปีผลิต 2565

 

รายละเอียด
วิดีทัศน์ชุด สื่อการเรียนรู้การใช้สารชีวภัณฑ์ให้เกิดประสิทธิภาพ แนะนำแนวทางการใช้ใช้เชื้อ บิวเวอร์เรีย ซึ่งเป็นเชื้อราทำลายแมลง ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพโดยการผสมน้ำฉีดพ่น  เพื่อใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชได้ทั้งระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัย เช่น เพลี้ยกะโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไก่แจ้ แมลงหวี่ขาว ไรแดง และหนอนผีเสื้อต่างๆ

 

เชื้อ บิวเวอร์เรีย

          เชื้อราบิวเวอเรีย เป็นเชื้อราสีขาว จัดเป็นเชื้อราทำลายแมลง โดยทำให้เกิดโรคกับแมลงในดินได้หลายชนิด เช่นด้วงงวงมันเทศ ปลวก และใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชได้ทั้งระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัย เช่น เพลี้ยกะโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไก่แจ้ แมลงหวี่ขาว ไรแดง และหนอนผีเสื้อต่างๆ

 

แนวทางการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพโดยการผสมน้ำฉีดพ่น

  • การใช้เชื้อสด ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย ชนิดเชื้อสด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยมีวิธีการเตรียมดังนี้
    • เชื้อสด 1 กิโลกรัม นำมากวนล้างสปอร์ในน้ำ โดยใช้ถุงกรอง
    • ทำการกรองเอาเฉพาะสปอร์เทลงถังฉีดพ่น
    • ผสมสารจับใบ 5 มิลลิลิตร และเติมน้ำจนครบ 100 ลิตร  กวนให้เข้ากัน
    • ฉีดพ่นในแปลง โดยการพ่นต้องให้ถูกตัวแมลง การฉีดพ่นควรใช้ในช่วงเวลาที่แดดอ่อนในช่วงเวลาเย็น
       
  • การใช้เชื้อผงสำเร็จรูป
    • ใช้เชื้อผงสำเร็จรูปในอัตรา 50-100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เติมสารจับใบแล้วนำไปฉีดพ่นให้ถูกตัวแมลงในช่วงเวลาเย็น
    • การเก็บรักษา ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสมที่ 25-27 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงกว่านี้ สปอร์จะไม่เจริญเติบโตและเสื่อมคุณภาพ

 

 






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon