โลโก้เว็บไซต์ สถช.ลงพื้นที่สำรวจ วินิจฉัยปัญหาเครื่องบีบอัดก้อนชาและระบบไปฟ้า ให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

สถช.ลงพื้นที่สำรวจ วินิจฉัยปัญหาเครื่องบีบอัดก้อนชาและระบบไปฟ้า ให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 20 กรกฎาคม 2565 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 411 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

วันที่ 18-19 กรกฎาคม พ.ศ.2565 อาจารย์วิสุทธิ์ บัวเจริญ หัวหน้าศูนย์ซ่อมบำรุงวินิจฉัยปัญหาเครื่องจักร/เครื่องมือ เพื่อสนับสนุนศูนย์/สถานีโครงการหลวง พร้อมด้วย บุคลากรสังกัดสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ผู้รับผิดชอบงานโครงการจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง/วินิจฉัยปัญหาเครื่องจักร เครื่องมือเพื่อสนับสนุนสถานีวิจัย/ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ดำเนินงานภายใต้โครงการสนับสนุนกิจกรรมมูลนิธิโครงการหลวงและโรงงานแปรรูป ประจำปีงบประมาณ 2565 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลงพื้นที่ร่วมประชุมหารือกับหัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง รวมถึงรับทราบปัญหา และแลกเปลี่ยนแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ดูแลเครื่องบีบอัดก้อนชา เพื่อสรุปแผนการดำเนินงานสำรวจ วินิจฉัยปัญหาประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องบีบอัดก้อนชาและระบบไปฟ้า ให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง ตำบลแม่วิน จังหวัดเชียงใหม่

 

ผลจากลงพื้นที่สำรวจวินิจฉัยปัญหาประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องบีบอัดก้อนชา เพื่อสรุปแผนการดำเนินงานสำรวจ วินิจฉัยปัญหาประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องบีบอัดก้อนชาและระบบไปฟ้า ให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง ครั้งนี้ พบประเด็นปัญหา 2 เรื่อง คือ 

  1. เครื่องควั้นถุงบรรจุชาก่อนเข้าเครื่องนวด
    ประเด็นปัญหา : ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวางต้องการใช้เครื่องควั้นถุงบรรจุชาก่อนเข้าเครื่องนวด ซึ่งไม่ถูกใช้งานมานานกว่า 20 ปี ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ กำลังตรวจสอบระบบไฟฟ้าควบคุม
    คำวินิจฉัย: ตรวจพบปัญหาหน้าคอนแทรคมอเตอร์ชำรุด
     
  2. เครื่องผสมวัสดุทำก้อนเห็ด
    ประเด็นปัญหา : ไม่สามารถเปืดเครื่องผสมวัสดุทำก้อนเห็ดใช้งานได้ 
    คำวินิจฉัย : สาเหตุเกิดจากโซ่ยืดตัวทำให้โซ่ไม่ลงร่องเฟือง

 

ทั้งนี้ ทางคณะทำงานได้ดำเนินการตามการร้องขอของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง  ดังนี้

  1. เครื่องควั้นถุงบรรจุชาก่อนเข้าเครื่องนวด : ดำเนินการถอดอะไหล่มอเตอร์เก่า จากเครื่องจักรอะไหล่ที่ไม่ใช้งานนำมาเปลี่ยนให้ใหม่
  2. เครื่องผสมวัสดุทำก้อนเห็ด : ดำเนินการตัดข้อโซ่และปรับฟิตให้ใหม่สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

 

 

ข้อมูล/ภาพ กลุ่มงานโครงการพิเศษ
เรียบเรียง รัตนาภรณ์ สารภี







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon