โลโก้เว็บไซต์ สถช.ลงพื้นที่สำรวจ วินิจฉัยปัญหาเครื่องแช่เย็นผลผลิตและระบบไฟฟ้า ให้ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

สถช.ลงพื้นที่สำรวจ วินิจฉัยปัญหาเครื่องแช่เย็นผลผลิตและระบบไฟฟ้า ให้ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 1 สิงหาคม 2565 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 581 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

วันที่้ 26-27 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 อาจารย์วิสุทธิ์ บัวเจริญ หัวหน้าศูนย์ซ่อมบำรุงวินิจฉัยปัญหาเครื่องจักร/เครื่องมือ เพื่อสนับสนุนศูนย์/สถานีโครงการหลวง พร้อมด้วย บุคลากรสังกัดสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ผู้รับผิดชอบงานโครงการจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง/วินิจฉัยปัญหาเครื่องจักร เครื่องมือเพื่อสนับสนุนสถานีวิจัย/ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ดำเนินงานภายใต้โครงการสนับสนุนกิจกรรมมูลนิธิโครงการหลวงและโรงงานแปรรูป ประจำปีงบประมาณ 2565 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลงพื้นที่ร่วมประชุมหารือกับหัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ รวมถึงรับทราบปัญหา และแลกเปลี่ยนแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ดูแล เพื่อสรุปแผนการดำเนินงานสำรวจ วินิจฉัยปัญหาประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องแช่เย็นผลผลิต และระบบไฟฟ้า ให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

 

ผลจากลงพื้นที่สำรวจวินิจฉัยปัญหาประสิทธิภาพการทำงานของแช่เย็นผลผลิต จำนวน 2 เครื่อง และระบบไฟฟ้า ให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ สามารถสรุปประเด็นการตรวจสอบ วินิจฉัย และให้คำแนะนำ จำนวน 6 ข้อ ดังนี้

  • ประเด็นตรวจสอบและวินิจฉัยที่ 1   พบว่า เครื่องที่ 1 พบการรั่วซึมของน้ำยาบริเวณวาล์วเติมน้ำยาจึงได้แนะนำใช้ช่างประจำศูนย์ดำเนินการจัดซื้อเปลี่ยนวาล์วและแว็กค์น้ำยาที่เหลือออกให้หมดก่อนบรรจุน้ำยาใหม่เข้าโดยให้สังเกตุค่าแอมป์ในการบรรจุของแอมป์มิเตอร์ให้มีค่าเท่ากับที่ป้ายแสดงรายละเอียดของเครื่องที่ติดไว้และให้นำพัดลมระบายความร้อนที่ถูกถอดไปติดตั้งในเครื่องที่ 2 กลับมาติดตั้งในเครื่องที่ 1 เหมือนเดิม
     
  • ประเด็นตรวจสอบและวินิจฉัยที่ 2   พบว่า เครื่องที่ 2 พัดลมชำรุดต้องเปลี่ยนใหม่ ปลั๊กสายไฟของเครื่องถูกตัดออกให้นำสายไฟมาใส่ไว้เหมือนเดิมพร้อมกับแว็กค์น้ำยาออกจากระบบและเติมเข้าไปใหม่โดยให้สังเกตุแอมป์ในการบรรจุเหมือนเครื่องที่ 1
     
  • ประเด็นตรวจสอบและวินิจฉัยที่ 3   พบว่า เครื่องปรับอากาศโรงเก็บผลผลิต 1 เครื่องอาการไม่เย็นเนื่องจากสภาพแวดล้อมเปิดตรวจพบความสกปรกทั้งส่วนระบายความร้อนและระบายความเย็นจึงได้แนะนำและปฏิบัติการสาธิตการทำความสะอาดทั้งสองส่วนให้กับช่างประจำศูนย์และให้ตรวจวัดค่าแอมป์ขณะเครื่องทำงาน
     
  • ประเด็นตรวจสอบและวินิจฉัยที่ 4   พบว่า เครื่องทำน้ำอุ่นอาคารที่พักรับรองจำนวน 3 เครื่อง ( 3 ห้อง ) ไดโอดของเครื่องขำรุดเสียหายเนื่องมาจากอาการไฟกระชากเข้าในช่วงไฟเดินเข้ามาในระบบจากสาเหตุไฟดับจึงได้แนะนำให้ช่างประจำศูนย์ดำเนินการจัดหาอะไหล่และแก้ไข
     
  • ประเด็นตรวจสอบและวินิจฉัยที่ 5   พบว่า เครื่องทำน้ำร้อนอาการไม่ร้อนและไม่มีไฟเดินเข้าในระบบตรวจสอบแล้วพบว่าสายไฟบริเวณเต้าเสียบชำรุดจึงได้แจ้งช่างประจำศูนย์ให้ดำเนินการเปลี่ยนเต้าเสียบใหม่
     
  • ประเด็นตรวจสอบและวินิจฉัยที่ 6   พบว่า ไฟกิ่งของเสาไฟทางเดินไม่มีแสงสว่าง 1 เสา ช่างประจำศูนย์รับไปจะดำเนินการเองเนื่องจากมีความสูงและความเสี่ยงในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและวินิจฉัยฯ

 

นอกจากนั้น คณะทำงานได้ดำเนินการตรวจเช็คและซ่อมเครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหย เครื่องทำน้ำอุ่นมรบ้านพักรับรอง ไฟกริ่ง ตู้แช่แข็งและเครื่องปรับอากาศ ในโรงคัดบรรจุของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ พร้อมให้ความรู้ในการซ่อมเบื้องต้นแก่เจ้าหน้าที่ดูแล

 

ข้อมูล/ภาพ กลุ่มงานโครงการพิเศษ
เรียบเรียง รัตนาภรณ์ สารภี







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา