เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 20 มิถุนายน 2567 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 269 คน
วันที่ 20 มิถุยายน พ.ศ. 2567 บุคลากรสังกัดกลุ่มงานบริหารและการขับเคลื่อนงานสนับสนุน สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ร่วมเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าร่วมงานพิธีทําบุญสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ หน่วยพิธีประตูสวนดอก ประจําปี 2567 โดยมีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ จัดพิธี เพื่อความเป็นสิริมงคลของบ้านเมือง และร่วมสืบสาน ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีทางพระพุทธศาสนาอันทรงคุณค่าซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม อันดีงามของชาวเชียงใหม่ ณ หน่วยพิธีประตูสวนดอก ตําบลสุเทพ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
สำหรับในปี พ.ศ. 2567 นี้ สถานที่ประกอบพิธีหลัก คือ หน่วยพิธีกลางเวียงเชียงใหม่ (บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์)
และมีหน่วยประกอบพิธีรวม 9 จุด ได้แก่
นครเชียงใหม่ สร้างขึ้นโดยพญามังรายมหาราช พร้อมกับอำมาตย์ ทวยราษฎร์ทั้งหลาย ซึ่งพญารามคำแหงมหาราชแห่งนครสุโขทัย และพญางำเมืองแห่งนครพะเยา ผู้เป็นปิยสหาย ให้คำปรึกษา นครนี้สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 1838 – 1839 ขนานนามว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” เป็นราชธานีแห่งอาณาจักรล้านนาไทยในอดีต ซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมประเพณี และเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญในภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน นครเชียงใหม่สร้างขึ้นโดยลักษณะการวางผังเมืองให้สอดคล้องกับชัยภูมิและความเชื่อทางโหราศาสตร์ คือ คัมภีร์มหาทักษา ประกอบด้วย บริวารเมือง อายุเมือง เดชเมือง ศรีเมือง มูลเมือง อุตสาหเมือง และกาลกิณีเมือง
ตามความเชื่อแต่โบราณ การเกิดเมือง หรือ การสร้างเมือง สร้างตามฤกษ์ยามที่เป็นมหามงคล ตบะเดชะบารมีเหมือนกับการเกิดของประชาชนที่ให้มีความสุขความเจริญ ความสุขสมหวัง แต่บางครั้งก็เกิดความเสื่อมโทรมอับเฉา เศร้าหมอง นานัปการ เมื่อประสบกับสิ่งเหล่านี้ ชาวล้านนาจึงมีความเชื่อว่า หากทำบุญสืบชะตาต่ออายุบ้าน อายุเมือง ต่ออายุตนเอง ก็จะช่วยให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้นเหมือนเดิมหรือดียิ่งกว่าเดิม และสร้างความสุขสมบูรณ์แก่อาณาประชาราษฎร์ทั้งมวล จึงเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน
ข้อมูล เว็บไซต์เทศบาลนครเชียงใหม่, ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มทร. ล้านนา
ภาพ กองประชาสัมพันธ์ มทร.ล้านนา, ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มทร.ล้านนา, รัตนาภรณ์ สารภี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา