เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 12 มิถุนายน 2561 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 5851 คน
วันอังคารที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ ดร. ภาสวรรธน์ วัชรดำรงศักดิ์ รองอธิการบดีด้านวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นประธานในการประชุม รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ผ่านระบบ VDO Conference ณ ห้องประชุมสำนักวิทยบริการ ชั้น ๔ อาคารห้องสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ โดยสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนโครงการ ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากธนาคารออมสิน ให้ดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น จำนวน ๘ โครงการ ดังนี้
๑. โครงการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ของวิสาหกิจชุมชนรวีวรรณกล้วยกรอบ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ดำเนินงานโดย มทร.ล้านนา เชียงราย ซึ่งมี ผศ.ดร.ณภัทร ทิพย์ศรี, อาจารย์กุลพรภัสร์ ภราดรภิบาล, อาจารย์นิวัฒน์ชัย ใจคำ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
๒. โครงการพัฒนา “ผ้าม่อนล้าน” บนสถานีพัฒนาการเกษตรตามพระราชดำริ ดอยม่อนล้าน ดำเนินงานโดย คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งมี ผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
๓. โครงการยกระดับอาชีพการผลิตเห็ดของกลุ่มผู้ปกครองผู้พิการ ตำบลแม่สันเมืองยาว ตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ดำเนินงานโดย มทร.ล้านนา ลำปาง ซึ่งมี นายชัยธวัช จารุทรรศน์ และผศ.นวลศรี จารุทรรศน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
๔. การศึกษาวิเคราะห์ ส่งเสริม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแปรรูปอาหารชาววัง ตำบลนาโบสถ์ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก ดำเนินงานโดย มทร.ล้านนา ตาก ซึ่งมี นายจักรพันธ์ วงศ์ฤกษ์ดี, ผศ.ดร.พรรณธิภา เพชรบุญมี, นางกัลยา สุวรรณวิไล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
๕. ยกระดับชุมชนบ้านออนใต้เชิงสร้างสรรค์” (กลุ่มสตรีผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ชุมชน กระเป๋าถักจากเชือกร่ม) ตำบลแม่ออน อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานโดย คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ซึ่งมี อาจารย์ชรัญญา สุวรรณเสรี และคณะ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
๖. ก้าวแรกสู่บ้านหลวง ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งมี นายณรงค์ นันทกุศล, ว่าที่ ร.ต.ชัยภูมิ สีมา และคณะ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
๗. การเพิ่มผลิตภาพการจำหน่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าตีนจกบ้านสองธาร ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานโดย คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ซึ่งมี ดร.ไพรพันธ์ ธนเลิศโศภิต เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
๘. การอนุรักษ์ลวดลายผ้าทอโบราณ อำเภออมก๋อย ดำเนินงานโดย คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งมี ผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
ในการประชุมครั้งนี้ ทุกโครงการได้รายงานความก้าวหน้าของโครงการตามแบบฟอร์มที่กำหนด และคณะกรรมการดำเนินงานได้ชี้แจงแนวทางในการดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ร่วมกัน ในการลงพื้นที่ต้องมีธนาคารออมสิน ฝ่าย/ภาค/เขต/สาขา และ หน่วยงานภาคีเข้าร่วมกิจกรรม และมีการส่งรายละเอียดกิจกรรม พร้อมรูปถ่ายส่งให้คณะกรรมการดำเนินงานทุกครั้ง ทั้งนี้ต้องบรรลุตามตัวชี้วัดความสำเร็จ ของโครงการ เชิงปริมาณ : กลุ่มองค์กรชุมชน สามารถลดรายจ่ายหรือมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายสินค้า/บริการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ก่อนเสร็จสิ้นโครงการ และ เชิงคุณภาพ : ๓ ด้าน
๑. ด้านเศรษฐกิจ > เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่สมาชิกในชุมชนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงสมาชิกมีการจดบันทึกบัญชีรับ – จ่ายพอเพียงเพิ่มขึ้น มีผลิตภาพเพิ่มขึ้น/ปริมาณการขายเพิ่มขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น/ลดต้นทุน
๒. ด้านสังคมและชุมชน > การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การจัดสวัสดิการเพื่อประโยชน์ชุมชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
๓. ด้านความยั่งยืน > ชุมชนเกิดการเรียนรู้ มีความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญ และสามารถนำไปคิดต่อยอดองค์ความรู้เองได้
ในที่ประชุมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นถึงพิธีปิดโครงการ มติในที่ประชุมกำหนดให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาจัดพิธีปิดโครงการ วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๑ ณ ห้างสรรพสินค้าในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้คณะกรรมการต้องขอความอนุเคราะห์ใช้สถานที่จากห้างก่อน จึงจะแจ้งให้ทราบ ซึ่งกิจกรรมสำคัญคือสถาบันอุดมศึกษาและธนาคารออมสิน ร่วมกันพิจารณาคัดเลือก “ทีมยอดเยี่ยม” จำนวน ๑ ทีม เพื่อเข้าร่วมงานพิธีส่งมอบโครงการซึ่งจัดโดยธนาคารออมสิน และมีผู้เข้าร่วมพิธีส่งมอบโครงการจาก ๑๖ สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ
เรียบเรียงข่าวและภาพประกอบโดย : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา