โลโก้เว็บไซต์ ติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับฯ 2561 กลุ่มผู้ปลูกสับปะรดบ้านเสด็จ | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

ติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับฯ 2561 กลุ่มผู้ปลูกสับปะรดบ้านเสด็จ

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 26 มิถุนายน 2561 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 2519 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 26 มิถุนายน 2561 สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้จัดโครงการติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้านชุมชนและภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 โอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ไกรสีห์ พิสิษฐ์กุล รองอธิการบดี มทร.ล้านนา ลำปาง กล่าวต้อนรับ ผู้ทรงคุณวุฒิ รศ.ดร.อภิรักษ์ เพียรมงคล ดร.อรุณี ยศบุตร และบุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยมี ผศ.พงศกร สุรินทร์ หัวหน้าโครงการ และคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการและ ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ

มทร.ล้านนา ลำปาง กำหนดพื้นที่ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณีกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดบ้านเสด็จ ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ซึ่งได้ดำเนินงานเป็นปีที่ 2 พื้นที่ตำบลบ้านเสด็จกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดนิยมปลูกเพื่อส่งขายให้กับโรงงาน โดยปลูกพันธุ์ปัตตาเวียเป็นหลักและประสบปัญหาสับปะรดล้นตลาด ทำให้ผลผลิตราคาตกต่ำ จึงมีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนพันธุ์สับปะรดเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดโดยได้คัดเลือกพันธุ์ MD2 เพื่อส่งออกผลสดไปยังตลาดต่างประเทศ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรดพันธุ์ โดยการใช้เทคโนโลยีการให้น้ำและสารอาหารผ่านระบบน้ำหยดเพื่อการผลิตสับปะรดนอกฤดู  นอกจากนั้นยังส่งเสริมการแปรรูปสับปะรดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐานเช่น  สับปะรดกวน สับปะรดแผ่น น้ำพริกสับปะรด พัฒนาจนให้ได้รับมาตรฐาน อย. และมีการศึกษาให้มีการใช้ประโยชน์จากเส้นใยสับปะรด ผลิตเสื้อผ้าสิ่งทอ และผลิตปุ๋ยจากสับปะรดต่อไป

กิจกรรมตามแผนงานที่ได้ดำเนินการแล้วได้แก่ 1.กิจกรรมการขอรับรองมาตรฐาน อย.เพื่อให้ได้มาตรฐานการผลิตที่เหมาะสม 2.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่(สับปะรดแผ่น) กิจกรรมที่จะดำเนินการหลังจากการติดตามประเมินผลได้แก่ 1.การพัฒนาเครื่องสับปะรดเพื่อผลิตปุ๋ยหมัก 2.การบริหารจัดการกลุ่ม 3.การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรดพันธุ์ โดยการใช้เทคโนโลยีการให้น้ำและสารอาหารผ่านระบบน้ำหยดเพื่อการผลิตสับปะรดนอกฤดู

 

เรื่อง : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส

ภาพ : นายจักรรินทร์ ชื่นสมบัติ



คำค้น : วันที่ 26 มิถุนายน 2561 สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้จัดโครงการติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้านชุมชนและภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 โอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ไกรสีห์ พิสิษฐ์กุล รองอธิการบดี มทร.ล้านนา ลำปาง กล่าวต้อนรับ ผู้ทรงคุณวุฒิ รศ.ดร.อภิรักษ์ เพียรมงคล ดร.อรุณี ยศบุตร และบุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยมี ผศ.พงศกร สุรินทร์ หัวหน้าโครงการ และคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการและ ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ มทร.ล้านนา ลำปาง กำหนดพื้นที่ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณีกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดบ้านเสด็จ ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ซึ่งได้ดำเนินงานเป็นปีที่ 2 พื้นที่ตำบลบ้านเสด็จกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดนิยมปลูกเพื่อส่งขายให้กับโรงงาน โดยปลูกพันธุ์ปัตตาเวียเป็นหลักและประสบปัญหาสับปะรดล้นตลาด ทำให้ผลผลิตราคาตกต่ำ จึงมีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนพันธุ์สับปะรดเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดโดยได้คัดเลือกพันธุ์ MD2 เพื่อส่งออกผลสดไปยังตลาดต่างประเทศ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรดพันธุ์ โดยการใช้เทคโนโลยีการให้น้ำและสารอาหารผ่านระบบน้ำหยดเพื่อการผลิตสับปะรดนอกฤดู นอกจากนั้นยังส่งเสริมการแปรรูปสับปะรดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐานเช่น สับปะรดกวน สับปะรดแผ่น น้ำพริกสับปะรด พัฒนาจนให้ได้รับมาตรฐาน อย. และมีการศึกษาให้มีการใช้ประโยชน์จากเส้นใยสับปะรด ผลิตเสื้อผ้าสิ่งทอ และผลิตปุ๋ยจากสับปะรดต่อไป กิจกรรมตามแผนงานที่ได้ดำเนินการแล้วได้แก่ 1.กิจกรรมการขอรับรองมาตรฐาน อย.เพื่อให้ได้มาตรฐานการผลิตที่เหมาะสม 2.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่(สับปะรดแผ่น) กิจกรรมที่จะดำเนินการหลังจากการติดตามประเมินผลได้แก่ 1.การพัฒนาเครื่องสับปะรดเพื่อผลิตปุ๋ยหมัก 2.การบริหารจัดการกลุ่ม 3.การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรดพันธุ์ โดยการใช้เทคโนโลยีการให้น้ำและสารอาหารผ่านระบบน้ำหยดเพื่อการผลิตสับปะรดนอกฤดู เรื่อง : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส ภาพ : นายจักรรินทร์ ชื่นสมบัติ





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon