โลโก้เว็บไซต์ โครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 บ้านแม่่สายป่าเมี่ยง คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ | สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

โครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 บ้านแม่่สายป่าเมี่ยง คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 21 กรกฎาคม 2559 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 2143 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

       วันที่ 21 กรกกฏาคม 2559  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เสรฐสุดา  ปรีชานนท์ ผู้ช่วยคณบดีด้านงานวิจัยและบริการวิชาการ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ผู้รับผิดชอบโครงการ เข้าร่วมโครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ได้รับเกียรติผู้ทรงคุณวุฒิจากท่านอุดม มณีขัติย์ รศ.สุทัศน์ จุลศรีไกรวัล รศ.ดร.อภิรักษ์ เพียรมงคล ดร.อรุณี ยศบุตร และนายเกรียงไกร ธารพรศรี รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน รวมถึงบุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยมีผู้ใหญ่บ้านแม่สายป่าเมี่ยง เครือข่ายต่าง ๆ คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ

     คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กำหนดพื้นที่ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม บ้านแม่สายป่าเมี่ยง  หมู่ที่ 7 ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ดำเนินงานเป็นปีแรก ในปีงบปรมาณ 2559 เริ่มต้นจากการประชุมร่วมกับผู้นำ แกนนำชุมชน และชาวบ้านในชุมชนพบว่ากระบวนการผลิตกาแฟ ชุมชนได้ขึ้นทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนตั้งแต่ปี 2551 มีสมาชิกทั้งหมด 30 ราย โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานกลุ่ม แต่กระบวนการผลิตยังคงเป็นรูปแบบเคมี คือ ยังคงใช้ปุ๋ยเคมีในการบำรุงต้นกาแฟ และในการแปรรูปชุมชนสามารถทำได้ถึงขั้นตอนการสีออกมาเป็นกะลา โดยมีเครื่องสีของกลุ่ม 3 เครื่อง แล้วส่งขายให้กับโครงการหลวงในราคาตามคุณภาพของกาแฟ ซึ่งทางแกนนำชุมชนมีความต้องการที่จะพัฒนากระบวนการผลิตให้เป็นแบบอินทรีย์ โดยประธานกลุ่มได้ทดลองทำแปลงนำร่องในปีที่ผ่านมาพบว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง จึงอยากจะพัฒนาไปสู่สมาชิกกลุ่มโดยกระบวนการที่เป็นวิชาการ และหาเทคโนโลยีแปรรูปคั่วบดที่เหมาะสมระดับชุมชน ตลอดจนพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นสินค้าของชุมชน พร้อมกันนี้ทางชุมชนมีความต้องการที่จะพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของอำเภอพร้าว เหตุนี้ทางคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์จึงได้ดำเนินการโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม บ้านแม่สายป่าเมี่ยง หมู่ที่ 7 ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาขยายผลการผลิตกาแฟอินทรีย์ และหาแนวทางในการพัฒนาต่อยอดการแปรรูปด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน พร้อมกับมีการพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของอำเภอพร้าว

     กิจกรรมที่ดำเนินงานแล้ว ประกอบด้วย 

๑. กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มแปรรูปการแฟอินทรีย์ 

2.  กิจกรรมการจัดตั้งกลุ่มโฮมสเตย์

3.  กิจกรรมการจัดตั้งกลุ่มหมู่บ้านท่องเที่ยว

     กิจกรรมที่จะดำเนินการหลังจากการติดตามประเมินผลได้แก่

1.  อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องกระบวนการแปรรูปกาแฟอินทรีย์

2.  กิจกรรมศึกษาดูงานการจัดโฮมสเตย์

3.  กิจกรรมการให้ความรู้เรื่อง การพัฒนาโฮมสเตย์บ้านแม่สายป่าเมี่ยง

4.  กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การให้บริการและการต้อนรับ

5.  กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาภาษาและการสื่อสารขั้นพื้นฐาน

6.  กิจกรรมจัดทำป้ายและสื่อประชาสัมพันธ์

7.  กิจกรรมศึกษาดูงานหมู่บ้านท่องเที่ยวต้นแบบ

8.  กิจกรรมประชุมและระดมความเห็น เรื่อง สถานที่และเส้นทางการท่องเที่ยว

9.  กิจกรรม พัฒนาสถานที่และเส้นทางการท่องเที่ยว

10.  กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่น ภาษาและการสื่อสาร

11.  กิจกรรมจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และแผนที่ท่องเที่ยว

     อุปสรรคและปัญหาในการดำเนินงานได้แก่

1.  ปัญหาจากคณะกรรมการดำเนินงาน กระบวนการเบิก-จ่าย งบประมาณในการดำเนินงาน ล่าช้า ทำให้การดำเนินงานล่าช้ากว่าแผนงานที่วางไว้

2.  ปัญหาจากพื้นที่ เนื่องจากฤดูฝนถนนขาด เส้นทางคมนาคมทางบกไม่สามารถใช้งานได้

 

เรื่อง : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส

ภาพ : นายจักรรินทร์ ชื่นสมบัติ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon